ปัญหาของตัวสร้างเลขสุ่มเทียม (PRNG) ของ ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม

  • คาบเวลาการซ้ำสั้นกว่าที่คาดเอาไว้สำหรับบางสถานะ seed (สถานะเริ่มต้น)
  • ขาดเอกรูป (Non-Uniform) ในการแจกแจงลำดับสุ่มเสมือนที่สร้างขึ้นมาเมื่อสร้างตัวเลขสุ่มมาแล้วเป็นจำนวนมาก
  • เกิดความสัมพันธ์กับค่าที่อยู่ติดกันซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีสามารถคาดเดาตัวต่อไปซึ่งเป็นรหัสที่ถูกต้องได้
  • การแจกแจงที่มีมิติหรือขอบเขตที่ไม่ดี (poor dimension) ในลำดับสุ่มเสมือนที่ได้จาก ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม ปริภูมิ 3 มิติ ของ 100,000 ค่าที่สร้างขึ้นมาด้วย แรนดูRANDU โดยจุดแต่ละจุดแสดง 3 ลำดับย่อยของตัวเลขสุ่มเทียม

จุดบกพร่องเหล่านี้มีตั้งแต่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จนกระทั่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างหนึ่งก็คือ แรนดู RANDU ซึ่งเป็นขั้นตอนวิธีในการสร้างเลขสุ่มเทียมที่ใช้กันมากว่าทศวรรตบน คอมพิวเตอร์ mainframe ซึ่งไม่สมบูรณ์แบบอย่างมากๆ แต่เนื่องด้วยสมัยนั้นวิทยาการในการตรวจสอบที่มียังมีไม่เพียงพอ ทำให้ความไม่สมบุร์ณ์แบบดังกล่าวไม่ถูกตรวจพบเป็นระยะเวลายาวนาน อีกตัวอย่างหนึ่งของปัญหาก็คือ การวิจัยในหลายๆสาขาในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งอาศัย การเลือกแบบสุ่ม การจำลองแบบ วิธีมอนติคาโล Monte Carlo method หรือในทางอื่นๆ ได้ผลการวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าที่มันควรจะเป็น

ใกล้เคียง

ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม ตัวสร้างความสอดคล้องแบบเชิงเส้น ตัวสร้างเลขสุ่มเทียมแบบบลัมบลัมชับ ตัวระบุวัตถุดิจิทัล ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด ตัวกระตุ้น ตัวรับแรงกล ตัวเรียงกระแส ตัวรับรู้สารเคมี ตัวกระตุ้นให้ทำงาน